รับมือการโจมตีทางไซเบอร์

ATTACK SURFACE MANAGEMENT

ในการเตรียมความพร้อมรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ ที่ปัจจุบันเกิดขึ้นถี่และซับซ้อนมากขึ้น เราจําเป็นต้องรู้อย่างแน่ชัดว่า ภัยคุกคามต่างๆ นั้นมีอะไรบ้าง การรู้เขารู้เรา รู้จักศัตรู และทรัพย์สินที่มี ถือเป็นสิ่งสําคัญ ยิ่งเรารู้เกี่ยวกับผู้โจมตีขององค์กรเรามากเท่าไหร่ เรายิ่งมีโอกาสในการสกัดกั้น และหยุดยั้งการโจมตีได้มากขึ้นเท่านั้น

หาช่องโหว่ด้านความปลอดภัย

จัดการกับภัยคุกคามที่อยู่รอบตัว

เพิ่มการมองเห็น

รู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ทุกตัวที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กร รวมถึงอุปกรณ์เก่า อุปกรณ์ที่ถูกลืม อุปกรณ์ที่มองไม่เห็น และ การตั้งค่า อุปกรณ์ ผิด ๆ

ค้นพบอุปกรณ์ใหม่

ค้นพบและจัดการอุปกรณ์ด้านไอทีใหม่ๆ ขององค์กรโดยอัตโนมัติ สร้างแผนผังอุปกรณ์ต่างๆ ขององค์กร และวางแผนจัดการด้าน Attack Surface

อัพเดตและจัดการอุปกรณ์

จัดการทุกอุปกรณ์ของเครือข่ายองค์กร และทำการอัพเดตสถานะทางด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับการเติบโตขององค์กร

ข้อมูลภัยทางไซเบอร์

รับแจ้งเกี่ยวกับภัยอันตรายต่างๆ ที่มีต่อเครือข่ายและอุปกรณ์ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นภัยจากเว็บมืด บ็อทต่างๆ มัลแวร์ การแฮ๊กโจรกรรม และอื่นๆ

ประเมินและจัดการความเสี่ยง

ประเมินความเสี่ยงของอุปกรณ์ทุกตัวในเครือข่าย เพื่อจัดการกับช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ให้คะแนนความเสี่ยงแต่ละจุด และลำดับความสำคัญในการจัดการ

ยกระดับความมั่นคงปลอดภัย

ลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซ่อมแซมบั๊ก อุดช่องโหว่ที่เป็นอันตรายต่อการสูญเสีย หรือการโจรกรรมข้อมูลขององค์กร เพิ่มความมั่นปลอดภัย

จัดการกับภัยคุกคามที่มีความซับซ้อน

นับวัน ความต้องการทางด้านไอที ก็ยิ่งทวีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามต่างๆ มากขึ้นเช่นกัน

การขยายตัวของโลกดิจิตอล ก็เหมือนเป็นการขยายพื้นที่ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีไปด้วย โดยสินทรัพย์ขององค์กรจากเมื่อก่อนจะอยู่แค่ในศูนย์ข้อมูลขององค์กรเท่าน้ัน แต่ในปัจจุบันสินทรัพย์ขององค์กรได้กระจายอยู่ทั่วทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็น Cloud ภาครัฐ, Cloud ภาคเอกชน, ศูนย์ข้อมูลขององค์กร, Software หรือ Application แบบพร้อมใช้งาน โดยการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ อาจก่อให้เกิด การนําระบบหรืออุปกรณ์ที่องค์กรไม่รู้มาเชื่อมต่อกับองค์กร (Shadow IT), การตั้งค่าระบบที่ไม่ถูกต้อง (misconfigurations), และระบบหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกลืมโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ไม่ประสงค์ดีก็จะใช้ช่องว่างเหล่านี้ในการโจมตีองค์กร

ในความเป็นจริงแล้วสินทรัพย์ที่มองเห็นได้จากภายนอกนั้นยังคงเป็นช่องทางหลักในการเริ่มการโจมตี โดยอาจเริ่มจากการใช้ Ransomware โจมตีบนช่องว่างดังกล่าว แล้วกระจายการโจมตีไปทั่วทั้งองค์กร ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรอย่างมหาศาล

ตัวอย่าง Dashboard ระบบ
Attack Surface Management

Dashboard ของระบบ Attack Surface Management ในตัวอย่างข้างต้น แสดงคะแนนความเสี่ยงด้านต่างๆ จำแนกตามความรุนแรง และประเภทของความเสี่ยงแต่ละด้าน เช่น

0
Total Score

เป็นคะแนนรวม
ที่พิจารณาจาก
ทุกความเสี่ยง

0
Vulnerabilities

คะแนนช่องโหว่
และจุดอ่อน
ของระบบ

0
Network Security

คะแนนความ
มั่นคงปลอดภัย
ของเครือข่าย

0
Leaked Credentials

คะแนนล๊อกอิน
และแพสเวิร์ด
ต่างๆ ที่ถูกรั่ว

0
Malware Security

สินทรัพย์ขององค์กร
ที่โดน malware หรือ
phishing

0
Darkweb Mentions

การกล่าวถึงองค์กร
หรือสินค้าทรัพย์องค์กร
โดยแฮ๊กเกอร์ Darkweb

0
SSL/TLS Security

ตรวจสอบสถานะ
ของ certificate และ
เวอร์ชั่นของ SSL/TLS

0
Email Security

ตรวจสอบการตั้งค่า
ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ
DNSSEC, SPF, DMARC

เกี่ยวกับเรา

SINORITY CO., LTD.

บริษัท ไซโนริตี้ จำกัด เป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และการบริการทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Product & Services) โดยมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์ชั้นนำและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการบริการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ด้วยโซลูชั่นจาก Group-IB ที่ได้ทุ่มเท 19 ปีในการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อเป็นการติดอาวุธในการติดตามค้นหาภัยคุกคาม ระบบการเฝ้าระวัง เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกโจมตี และเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ และพันธมิตรของทางบริษัทในการให้บริการอื่นๆ อีกทั้งทีมงานที่มากประสบการณ์พร้อมที่จะให้บริการทางด้านไซเบอร์ จึงทำให้ SINORITY สามารถให้บริการได้อย่างครบวงจรมากที่สุด

บริษัท ไซโนริตี้ จำกัด ได้ดำเนินการจดทะเบียนที่ปรึกษากับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาของหน่วยงานภาครัฐ โดยมีเลขทะเบียนที่ปรึกษาหมายเลข 6322

ดาวน์โหลดไฟล์โบรชัวร์ Sinority